หัวหน้า หัวใจ C-O-A-C-H

มีคำถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนาที่น่าสนใจมากอันนึงค่ะ

หากหัวหน้างานเป็นผู้ที่ไม่ชอบพัฒนาตนเอง พอใจในจุดที่อยู่แล้ว และก็ไม่อยากโค้ชให้ลูกน้อง เพราะเกรงว่าลูกน้องจะเก่งแล้วแซงหน้าไป ...

แบบนี้ ยังสมควรให้หัวหน้าคนนี้โค้ชลูกน้องหรือไม่

หัวใจของการโค้ชที่จะทำให้เกิดประสิทธิผลที่สุด นั่นคือ ความไว้วางใจ ความร่วมมือร่วมใจระหว่างโค้ชและผู้รับการโค้ช

พื้นฐานทัศนคติที่หัวหน้างานในฐานะโค้ชต้องมี นั่นก็คือ
C – Care – ให้ความใส่ใจสนใจในความเจริญก้าวหน้าของลูกน้อง
O – Open-minded - เปิดใจรับฟังความคิดเห็น และมองเห็นถึงศักยภาพ
A – Achievement - ยินดีกับความสำเร็จของลูกน้อง
C – Cooperation – ร่วมมือ สนับสนุน เพื่อให้ลูกน้องเติบโต
H – Heart - ด้วยหัวใจ คือมีความจริงใจ เต็มใจ

ดังนั้น คำตอบที่ดิฉันให้ไปแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาก็คือ หากหัวหน้าไม่เต็มใจที่จะร่วมเดินทางไปสู่ความสำเร็จหรือความก้าวหน้าของลูกน้องแล้ว ก็ไม่ควรที่จะดำเนินการโค้ชกัน เพราะยากที่จะนำพาลูกน้องไปสู่ความสำเร็จได้ ทางแก้ไขคือ อาจให้หัวหน้างานทีมอื่นหรือ HR เป็นโค้ชให้แทน หรือหาโค้ชจากภายนอก ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์กรนั้นๆ

หัวหน้างานท่านนี้ (หากมีจริง) ก็น่าเป็นห่วงนะคะ ทุกท่านมีความเห็นว่ายังงัยกับเรื่องนี้คะ ?? :))
**********
โค้ชบี ขนิษฐา หล่อลักษณ์ โค้ชผู้บริหาร/ผู้นำ ได้รับการรับรองระดับ Associate Certified Coach (ACC) จากสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (International Coach Federation - ICF)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำได้ยาก.. แต่อยู่ด้วยได้ง่าย

ใครคืออาจารย์ของคุณ?

The Inner Game of Tennis โฟกัสเกมภายในจิตใจ เพื่อชัยชนะเกมภายนอก