“คิดเองเป็นมั๊ย!?!?"
หัวหน้าหลายคนคงคิดแบบนี้อยู่ในใจเวลาสั่งงานลูกน้องแต่ละครั้งแล้วไม่ได้ดั่งใจ ต้องคอยมาถามวิธีการทีละขั้นทีละตอน หัวหน้าคงคิดว่า ชั้นจะจ้างเธอมาทำมัย ทำเองเลยดีมั๊ย!?
.
ย้ายมาที่ฝั่งหัวหน้า.. บางคนติดกับดักความสำเร็จ คิดว่าตัวเองมายืนอยู่จุดนี้ที่เป็นผู้บริหารแล้ว ก็ไม่ต้องพัฒนาอะไรแล้ว ยังงัยก็สั่งให้ลูกน้องทำนู่นนี่ได้ ทำอะไรแบบเดิมๆ ใช้วิธีเดิมๆ เหมือนที่เคยทำกันมา นานวันเข้าผลงานของคุณและทีมอาจจะตกฮวบลงก็ได้เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลูกน้อง (ที่มีหัวก้าวหน้า) ก็อาจคิดว่าอยู่ไปก็คงไม่พัฒนา สู้ไปหางานใหม่ทำดีกว่า
.
ในยุคดิจิตอลนี้ ถ้าคุณอยู่เฉยๆ ก็เหมือนถอยหลังไปทุกวัน เหมือนที่เค้าพูดกันว่า ถ้าคุณไม่เปลี่ยน ซักพักก็จะมีคนมาเปลี่ยนคุณเอง!
.
ในปี 1899 มีบทความสร้างแรงบันดาลใจเรื่อง A Message to Garcia เขียนโดย Elbert Hubbard ขายดีมากถึง 40 ล้านฉบับ และถูกแปลไปถึง 37 ภาษา ซึ่งต่อมาได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นวัฒนธรรมทางธุรกิจของชาวอเมริกันเกี่ยวกับทักษะความคิดริเริ่มของผู้นำ ..
.
“ในช่วงที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสเปน (ซึ่งปกครองคิวบา) ประธานาธิบดีวิลเลียม แมคคินลีย์ ต้องการเริ่มต้นการสื่อสารกับกบฏคิวบาเพื่อเป็นพันธมิตรกันในกรณีที่เกิดสงครามกับสเปน ประธานาธิบดีได้ถามพันเอกอาร์เธอร์ แอล แว็กเนอร์ ว่าใครจะสามารถออกไปตามหานายพลการ์เซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการของพวกกบฏได้ .. แว็กเนอร์ ได้แนะนำนายโรวาน บอกว่าต้องเป็นนายคนนี้เท่านั้นจึงจะส่งสารไปหานายพลการ์เซียได้ นายโรวานพอได้รับคำสั่งก็มัดจดหมายไว้แน่นกับตัวแล้วออกเดินทางโดยนั่งเรืออยู่ 4 วันเพื่อข้ามไปคิวบา หายเข้าไปในป่าอยู่ 3 สัปดาห์ และเดินเท้าต่อ จนสามารถส่งมอบจดหมายให้นายพลการ์เซียสำเร็จ .. นายพลการ์เซียมีความกระตือรือล้นในการให้ความร่วมมือกับชาวอเมริกันเพื่อต่อสู้กับสเปน .. นายโรวานเดินทางกลับอเมริกา และท้ายที่สุด เค้าได้รับรางวัลเกียรติยศจากกองทัพที่สามารถทำงานสำคัญของประเทศสำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี”
.
ประเด็นของเรื่องอยู่ที่ เมื่อนายโรวานได้รับคำสั่งแล้ว ไม่ได้ถามหาขั้นตอนวิธีการซักคำว่าจะต้องทำยังงัยบ้าง เค้าเป็นใคร อยู่ที่ไหน ต้องเดินทางยังงัย นายโรวานเพียงแค่โฟกัสพลังงานไปที่สิ่งที่ได้รับมอบหมาย คือการส่งสารไปหานายพลการ์เซีย แล้วเริ่มออกเดินทางทันที
.
ทักษะความคิดริเริ่ม หรือ Initiative เป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญที่ผู้นำจำเป็นต้องมี เหมือนกับนายโรวาน!
.
การมีความคิดริเริ่ม (Initiative) เป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้ คงไม่ต้องถึงกับพัฒนานวัตกรรมเปลี่ยนโลกอะไรขนาดนั้น แค่เพียงคอยคิดหาวิธีปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น หรือทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น ก็น่าจะเพียงพอ .. หัวหน้าที่มีทักษะการโค้ช จะใช้การโค้ชเพื่อดึงและยืดขยายศักยภาพของลูกน้องแต่ละคนตามความเหมาะสม เช่น ตั้งคำถามว่า ..
“ภาพการทำงานของทีมเราที่คุณอยากเห็นมันน่าจะเป็นยังงัย”
“ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วมันจะเกิดผลดีต่อทีม ต่อองค์กรยังงัยบ้าง”
“แล้วตอนนี้ อะไรที่มันขาดหายไป”
“จะมีวิธีการใหม่ๆ ยังงัยบ้าง ให้ได้ภาพแบบที่เราต้องการ”
“ใครจะต้องมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนในเรื่องนี้บ้าง”
เป็นต้น
.
ลองนำไปใช้ดูค่ะ
**********
Cr.ภาพจากเว็บไซต์ thinkcrowdfund
โค้ชบี ขนิษฐา หล่อลักษณ์ โค้ชผู้บริหาร/โค้ชผู้นำ และที่ปรึกษาการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร ได้รับวุฒิบัตรรับรองการโค้ชระดับ Associate Certified Coach (ACC) จากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation หรือ ICF)
https://www.facebook.com/CoachACoach
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น