แผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ตอนที่ 1



เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน (นานคอดๆ) โค้ชเริ่มทำงานที่บริษัทดีลอยท์ (Deloitte) บริษัทตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษารายใหญ่ 1 ใน 6 ของโลก (ก่อนหน้านั้นมี Big 8 แล้วยุบบ้างรวมบ้างกลายเป็น Big 6 ปัจจุบันเหลือเพียง Big 4 มี Deloitte, EY, KPMG, PwC)
ทำอยู่ในส่วนงานที่ปรึกษา Enterprise Risk Services บริการด้านบริหารความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นองค์กรใหญ่ องค์กรข้ามชาติ บริษัทมหาชน ฯลฯ เพราะค่าบริการ (service fee) เราแพงมากกกก 😁😁
.
ดีลอยท์เมืองนอกเค้าก็จะมีแนวทาง (Guideline) มาให้ว่าแต่ละเรื่องเราควรจะคุยจะถามลูกค้าว่าอะไรบ้าง
.
มีหลายคำถามที่เรารู้สึกไกลตัวมาก สงสัยเป็นคำถามของประเทศพัฒนาแล้ว 🤣🤣🤣
หนึ่งในเรื่องที่ต้องถามทุกครั้งเพราะมันเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจด้านโครงสร้างองค์กร ก็คือ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning) หากผู้ที่ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ลาออกไป หรือโยกย้ายไปทำงานอื่น ผู้บริหารเคยพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่และวางแผนไว้ยังไงบ้าง?!?! เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้
.
คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ก็คือ ไม่มี!!! ไม่ค่อยมีการทำเป็นลายลักษณ์อักษรกันไว้ จะว่าไปแล้วในหลายองค์กรก็ยังไม่รู้จักเรื่องนี้เลยด้วยซ้ำไป ว่ามันคืออะไรและจะทำไปเพื่ออะไร🤔🤔🤔
.
หลายปีมานี้โค้ชได้มาทำงานสายทรัพยากรบุคคล (HR) จึงได้มีโอกาสลงมือทำเรื่องนี้ด้วยตนเอง บริษัทข้ามชาติหลายแห่งก็เริ่มเข้าใจและทำแผนการสืบทอดตำแหน่งอย่างจริงจังขึ้นมากกว่าแต่ก่อน .. กระบวนการทำดูเหมือนง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว ต้องมาดูคุณภาพของแผนงานกันอีกทีนึง ว่าจะเป็นการ สักแต่ว่าทำส่งบริษัทแม่ที่เมืองนอกและ auditor (ผู้ตรวจสอบ) หรือทำเพื่อประโยชน์ของพนักงานและธุรกิจอย่างแท้จริง!
.
หลักการของเรื่องการวางแผนสืบทอดตำแหน่งนั้น คือมองว่าพนักงานทุกคนมีศักยภาพ .. เหมือนหลักการโค้ชเลยเนอะ! แต่เป็นไปไม่ได้ว่าทุกคนมีศักยภาพเท่าเทียมกันดังนั้นจึงต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือมาวัดผลการทำงานในอดีต (Performance) และศักยภาพที่จะเติบโตไปในอนาคต (Potential) โดยหัวหน้างานนี้แหล่ะจะต้องเป็นคนประเมินลูกน้องคนเอง และช่วยสนับสนุนพัฒนาเขาต่อไปจนลูกน้องคนนั้นเติบโตขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งของเค้าต่อไปได้
.
งานนี้เป็นหนึ่งในงานที่ตัวโค้ชเองชอบมากๆ ค่ะ เพราะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานได้เติบโตขึ้นตามที่เค้ามุ่งหวังไว้ และในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาคนเหล่านั้น หัวหน้างานและ HR ก็สามารถนำทักษะการโค้ชมาใช้ได้เป็นอย่างดี
.
เนื่องจากขั้นตอนรายละเอียดการวางแผนสืบทอดตำแหน่งจะยาวนิดนึง ขอติดไว้คราวหน้า โดยจะมาเล่าถึงวิธีการ ปัญหาและอุปสรรค และปัจจัยที่ทำให้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งนั้นประสบความสำเร็จด้วยค่ะ
.
ติดตามกันให้ได้นะคะ
.
#โค้ชบีขนิษฐา
#โค้ชผู้นำเพื่อความสุขและสำเร็จ
โค้ชบี ขนิษฐา หล่อลักษณ์ โค้ชผู้บริหาร/โค้ชผู้นำ
และที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กรและ
การสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร
ได้รับวุฒิบัตรรับรองการโค้ช
ระดับ Associate Certified Coach (ACC)
จากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ
(International Coach Federation หรือ ICF)
และคณะกรรมการ ICF ภาคพื้นกรุงเทพฯ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำได้ยาก.. แต่อยู่ด้วยได้ง่าย

ใครคืออาจารย์ของคุณ?

3F Model เพื่อการโค้ชสร้างผลงาน