How Coaching Sparks Transformation การโค้ชจะสร้างความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบก้าวกระโดดได้อย่างไร


กลับมาจากงานสัมมนางาน International Coach Federation (ICF) Summit ที่ฟิลิปปินส์แล้วค่ะ Speaker ที่มาพูดน่าสนใจหลายท่านเลย จะค่อยๆ ทะยอยแชร์นะคะ วันนี้ขอแชร์เนื้อหาบางส่วนจากหัวข้อ The Light of Awareness: How Coaching Sparks Transformation จากดร.มาร์เซีย เรย์โนลด์ (Dr. Marcia Reynolds) ประธาน Association of Coaching Training Organizations และอดีตประธานสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (ICF) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Outsmart Your Brain, Wander Woman และเล่มล่าสุด The Discomfort Zone
.
เคยมั๊ยคะ ที่มีใครมาพูดใส่หน้าเรา แล้วเราอึ้งไป 3 วิ(นาที) หลังจากนั้นเราก็เริ่มรู้ตัวว่าพฤติกรรมบางอย่างของเรามันไม่เวิร์ค ต้องเปลี่ยนได้ละ ดร.มาร์เซียยกตัวอย่างเรื่องของเธอเมื่อหลายปีก่อนที่ทำงานที่บริษัทแห่งนึง เธอบ่นๆๆ ให้หัวหน้าเธอฟังถึงเพื่อนร่วมงานทุกคนที่ไม่สนับสนุนโครงการของเธอ รวมถึงผู้บริหารทีมอื่นซึ่งเลื่อนโครงการของเธอออกไป จนหัวหน้าเธอกล่าวว่า “ฟังดูรู้สึกเหมือนว่า ไม่มีใครดีพอสำหรับคุณเลยใช่มั๊ย?” ดร.มาร์เซียเลยอึ้งไป 3 วิ แล้วกลับไปคิดอยู่อีกหลายคืน หลังจากนั้นเธอก็เริ่มเข้าใจและเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง .. นับได้ว่าหัวหน้าของเธอทำให้เธอเกิดการตระหนักรู้แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด หรือ Breakthrough Transformation .. นั่นก็เพราะหัวหน้าของเธอมีทักษะการฟังที่ลึกและสะท้อนกลับ (Reflection) ได้แบบสุดยอดมากเลยทีเดียว
.
การโค้ชที่ดีที่จริงแล้วมันคืออะไร .. มีเครื่องมือและวิธีการเกี่ยวกับการโค้ชมากมายในปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมกับการโค้ชคนทุกคน
.
การโค้ชที่ดี คือการที่เราทำให้ผู้รับการโค้ชรู้สึกไม่สะดวกสบาย (uncomfortable) และไม่แน่ใจ (unsure) ในตัวเองนิดๆ เพื่อที่เค้าจะได้ตระหนักรู้ เรียนรู้และเติบโตขึ้นต่อไป .. เหมือนที่ดร.มาร์เซียเธออึ้งและงงในตัวเองไปหลายวันหลังจากที่หัวหน้าเธอถามคำถามนั้น
.
ดร.มาร์เซีย จบปริญญาเอกด้านจิตวิทยาและได้ศึกษาวิวัฒนาการของสมองของมนุษย์ตั้งแต่ก่อนแรกเกิด ว่ามันแยกกันทางกายภาพไปอยู่ที่หัว (Head) หัวใจ (Heart) และช่องท้อง (gut) แต่มันยังมีเส้นประสาท (Neuron) ที่เชื่อมโยงถึงกัน!
.
การอยู่กับปัจจุบัน (Coaching Presence) เพื่อรับฟังผู้รับการโค้ชหรือลูกน้องของเราให้ลึกขึ้น เพื่อให้เราเข้าใจถึงความเชื่อ ความปรารถนา ค่านิยม และความกลัวบางอย่างในตัวเค้า เราต้องใช้สมอง 3 ส่วนหรือ 3 ศูนย์ในการรับฟัง (Receive, not just listen) ได้แก่ Head Brain, Heart Brain และ Gut Brain ว่าอะไรที่มันหยุดเค้าไว้ไม่ให้ก้าวเดินไปข้างหน้า
.
Head Brain ใช้สมองส่วนหัว ฟังด้วยความสงสัยใคร่รู้ (Curiosity) เพื่อฟังถึงสิ่งที่ผู้พูดเชื่อว่าเป็นความจริง
.
Heart Brain ใช้สมองส่วนหัวใจ ฟังด้วยความสงสัยสนใจใส่ใจ (Care) เพื่อฟังถึงความปรารถนา ค่านิยม และความสงสัยที่เกิดจากความผิดหวังและการทรยศหักหลัง
.
Gut Brain ใช้สมองส่วนท้อง ฟังด้วยความกล้าหาญ (Courage) เพื่อฟังถึงความกลัว และความยึดติด (attachments – can’t let go) ของผู้พูด
.
ลองมาฝึกการฟังโดยทั้ง 3 ศูนย์และสะท้อนกลับแบบสร้างสรรค์กันค่ะ เพื่อทำให้ผู้รับการโค้ชหรือลูกน้องของเรา ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปทางเชิงบวกแบบยั่งยืน!
**********
โค้ชบี ขนิษฐา หล่อลักษณ์ โค้ชผู้บริหาร/โค้ชผู้นำ และที่ปรึกษาการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร ได้รับวุฒิบัตรรับรองการโค้ชระดับ Associate Certified Coach (ACC) จากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation หรือ ICF)
กดไลค์เพื่อติดตามบทความทุกวันได้ที่https://www.facebook.com/CoachACoach
หรือติดตามบล็อกได้ที่ http://bemanagementcoach.blogspot.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

The Inner Game of Tennis โฟกัสเกมภายในจิตใจ เพื่อชัยชนะเกมภายนอก

ทำได้ยาก.. แต่อยู่ด้วยได้ง่าย

ใครคืออาจารย์ของคุณ?